“วราวุธ” เตรียมชง ครม. ให้ที่ สปก. ให้ปลูกไม้มีค่าตัดขายได้

“วราวุธ” เตรียมชง ครม. ให้ที่ สปก. สามารถปลูกไม้มีค่า ตัดได้ขายได้ คาดว่าเพิ่มพื้นที่ปลูกไม้มีค่ากว่า 10 ล้านไร่ “
       

ที่ผ่านมารัฐบาลโดยการนำของท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แก้ไข พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 โดยการแก้ไขมาตรา 7 ที่กำหนดเกี่ยวกับไม้หวงห้ามที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวล กฎหมายที่ดิน หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่า ไม่เป็นไม้หวงห้าม สามารถปลูกและตัดขายได้ในอนาคตอย่างถูกกฎหมาย โดยปลดล็อคไม้หวงห้าม จานวน 158 ชนิด เช่น ไม้สัก ไม้ยาง ไม้พะยูง และไม้หายาก จานวน 13 ชนิด เช่น กระเบา มะแข่น จันทน์หอม ตีนเป็ดแดง เป็นต้น

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลปลดล็อกแก้ไขกฎหมาย จากไม้หวงห้ามเป็นไม้มีค่า ปัจจุบันประชาชนปลูกไม้มีค่าและลงทะเบียนกับกรมป่าไม้ไปแล้ว 70,874 ราย เนื้อที่รวม 1,116,200ไร่ คิดเป็นต้นไม้มีค่าประมาณ 223,240,000 ต้น ซึ่งท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายวราวุธ ศิลปอาชา) เตรียมเสนอครม.ขอความเห็นชอบ ในการออกเป็นประกาศกระทรวงฯ ปลดล็อก พื้นที่ สปก. ซึ่งเป็นประเภทที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถปลูกไม้มีค่าได้ ในที่ดิน สปก.

ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ และสร้างรายได้ให้ครัวเรือน นอกจากนี้ไม้ที่ปลูกสามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นการปลูกป่าสร้างรายได้และเป็นมรดกให้กับครอบครัวในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีรายได้ อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการบุกรุกและลักลอบตัดไม้ และเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสร้างความชุ่มชื้น ให้กับประเทศอีกทางหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะมีคนสนใจปลูกไม้มีค่าเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10 ล้านไร่…อนาคตอีกไม่นานประเทศไทยจะมีเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลจากไม้มีค่าครับ


        นางนันทนา บุณยานันต์ โฆษกกรมป่าไม้ กล่าวเสริมว่า กรมป่าไม้พร้อมให้การสนับสนุนประชาชนที่ปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ร่วมลงทะเบียนไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ (E-Tree) ผ่านเว็บไซต์ กรมป่าไม้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการปลูกต้นไม้ และการค้าไม้เศรษฐกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยประชาชน จะได้รับประโยชน์ในด้านการอำนวยความสะดวกเรื่องการทำไม้และการเคลื่อนย้ายไม้ และในอนาคต ไม่จำเป็นต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่อีกต่อไป เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมไม้และการบริหารจัดการด้านการป่าไม้ให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจทางด้านป่าไม้ของประเทศต่อไป

              ————————————

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *