‘BGIC’Joint venture ‘Genexine Inc’

BGIC” จับมือ “Genexine Inc” จากเกาหลีใต้เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ไทยสู่ระดับโลก

“BGIC” ผู้นำด้านการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพของไทย จับมือร่วมทุน “Genexine” บริษัทยักษ์ใหญ่ไบโอเทคโนโลยีจากเกาหลีใต้ พร้อมผนึกกำลังผู้เชี่ยวชาญทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ รุกอุตสาหกรรมยาสมัยใหม่ เดินหน้าพัฒนาชีวเภสัชภัณฑ์ สอดรับตลาดโลกเติบโตสูงเท่าตัว ตั้งเป้ายกระดับอุตสาหกรรมยาชีวเภสัชภัณฑ์ไทยสู่ระดับโลกและขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งศูนย์กลางการวิจัยพัฒนาและฐานผลิตยาในอาเซียน

            นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไบโอ เจเนเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (BGIC) ผู้นำด้านการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เกี่ยวกับชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceutical)[1]1  และอื่น ๆ เปิดเผยว่า BGIC เล็งเห็นโอกาสและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมการผลิตยาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพประเทศไทย ซึ่งจะนำประเทศก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ จึงได้มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

ทั้งนี้เพื่อร่วมมือกันสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชีวเภสัชภัณฑ์ พร้อมผลักดันให้เป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่งของประเทศ   รวมถึงเตรียมความพร้อมพัฒนาศักยภาพ “BGIC” ให้เป็น ศูนย์กลางอำนวยในการให้บริการด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการจัดการงานวิจัย และสิทธิบัตรงานวิจัย (License–in & License-out Management) บริษัทจัดสร้างและหรือปรับปรุงโครงสร้าง การปฏิบัติงาน ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยี    เพื่อประกอบ ธุรกิจผลิตชีวภาพตามมาตรฐาน รวมถึงบริการพัฒนาธุรกิจใหม่ ที่ตอบสนองต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ  เพื่อเสริมสร้างรากฐาน อุตสาหกรรมยาในประเทศให้แข็งแกร่งในอนาคต

          สำหรับภาพรวมตลาดยาแผนปัจจุบันทั่วโลกในปี 2561 พบว่า มีมูลค่า 24 ล้านล้านบาท เติบโต 6.5% โดยยาที่มีการเติบโตสูง   และกำลังเป็นที่นิยมคือยาชีวภาพ มีอัตราการเติบโต 13% ขณะที่ในเอเชียมีการเติบโตถึง 19% สูงกว่าอัตราการเติบโตโดยรวมของโลก ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาพรวมของตลาดของประเทศไทย มีมูลค่าราว 1.8 แสนล้านบาท เติบโตประมาณ 6.5% โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นตลาดยาที่เป็นเคมีสังเคราะห์ประมาณ 70% ส่วนยาชีวภาพแม้ปัจจุบันจะมีสัดส่วนเพียง 30% แต่กลับเติบโตสูงถึง  16-19% และมีแนวโน้มว่าจะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 50% ภายใน 5 – 10ปีนับจากนี้ และคาดว่า ประเทศไทยจะสามารถผลิตชีวเภสัชภัณฑ์ ด้วยงานวิจัยภายในประเทศได้เองในอนาคตอันใกล้

          “BGIC” ยังทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceutical Industry) ของประเทศไทยให้ก้าวสู่ระดับโลก โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ให้เป็นที่แพร่หลาย ในประเทศไทย โดยยาชีวภาพจะเป็นยาแห่งโลกอนาคตที่ถูกพัฒนาให้เป็นยาที่เรียกว่า Supergenerics กล่าวคือ สามารถเห็นผลรักษาใน ระยะเวลารวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการรักษาที่มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต่อสู้กับเชื้อที่ดื้อยาได้ดีกว่าเดิม และสามารถตอบโจทย์สังคม ผู้สูงอายุในอนาคต โดยการการออกแบบยาชีววัตถุให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุอีกด้วย

          “เราเชื่อมั่นว่า การร่วมมือครั้งนี้จะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศในการเชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาค การศึกษาทั้งในและต่างประเทศโดยสร้างให้เป็นระบบนิเวศที่เกื้อกูลกันทำให้การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมมีความคล่องตัวและมีการ บริหาร จัดการแบบมืออาชีพที่เน้นการสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ทุกภาคส่วน และนำพาประเทศไทยเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ของโลกนี้” มารุตกล่าว

          ล่าสุดได้มีการเซ็นต์สัญญาร่วมทุน Joint Venture ระหว่าง KinGen Holdings (KGH) (บริษัทในกลุ่มของ BGIC) และ Genexine Inc. โดยถือหุ้นบริษัทละ 50% เพื่อลงทุนใน KinGen BioTech (KGBio) ซึ่งเป็นโรงงานรับจ้างผลิตยาชีววัตถุและวาง ระบบที่เกี่ยวข้องกับ การผลิตยาชีววัตถุ ด้วยมูลค่าการลงทุน 8 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดย KGBio ประมาณการรายได้ในปี 2562 – 2569 อยู่ที่ราว 220 – 250 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากนั้นจะมีการร่วมทุนจัดตั้งบริษัทเพื่อพัฒนาวิจัยยาชีววัตถุภายใต้ชื่อ KinGen Laboratory  (KGLab) โดยภายใน ปี 2570 มีเป้าหมายผลิตยาชีววัตถุใหม่ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก, ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง,  ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น คาดมูลค่าตลาด มากกว่า 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2570

          ทั้งนี้ โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ หรือ National Biopharmaceutical Facility (NBF) ซึ่งก่อตั้งร่วมกันเมื่อปี 2557 โดย มจธ. และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย NBF ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) วิทยาเขตบางขุนเทียน ดำเนินงานในรูปแบบของการรับจ้าง บริหารจัดการ กระบวนการผลิตชีววัตถุ เปิดให้บริการแก่องค์กร หน่วยงาน และผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศ โดยแบ่งการให้บริการเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. การบริการด้านการวิจัยและพัฒนา การออกแบบกระบวน การผลิตการขยายขนาดทั้งในกระบวนการผลิตต้นน้ำและปลาย น้ำรวมถึงการตรวจสอบคุณภาพ 2. การบริการผลิตยาชีวภาพที่สามารถ ผลิตยาชีวภาพที่เป็นโปรตีน   โดยใช้ที่กระบวนการวิศวกรรม    ชีวภาพชั้นสูงที่ใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงจุลินทรีย์เป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิตรวมถึงการผลิตยา วัคซีน และสารชีวภาพมูลค่าสูง  เพื่อใช้รักษาโรคมะเร็ง และโรคร้ายแรงชนิดอื่น และ 3. การบริการฝึกอบรม และให้คำ ปรึกษาแนะนำในส่วนของการผลิตการตรวจสอบคุณภาพระบบสนันสนุนและระบบเอกสารตามมาตรฐาน GMP

          ส่วน Genexine Inc.เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลกจากประเทศเกาหลีใต้มีมูลค่าบริษัทราว 1.2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ก่อตั้งเมื่อปี  2542  เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดและโรคที่พบได้ยาก   (Orphan Disease)  พร้อมที่จะนำองค์ ความรู้ที่ล้ำค่า และถ่ายทอดความเชี่ยวชาญในการผลิตยาชีววัตถุในแบบมาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสู่ประเทศไทย  ปัจจุบันบริษัท Genexine ได้จดทะเบียนอยู่ใน ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศเกาหลีตั้งแต่ปี 2552

            นายมารุต กล่าวปิดท้ายว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพนับวันจะเติบโตและมีมูลค่าที่สูงมากขึ้นในต่างประเทศ เพราะเป็นที่ ยอมรับทั้ง จากแพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วยว่า ชีวเภสัชภัณฑ์มีคุณสมบัติในการรักษาโรคร้ายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์ ยาที่มาจากเคมีสังเคราะห์ดังจะเห็นได้จากยอดขายผลิตภัณฑ์ยา  20  อันดับแรกในตลาด ยาทั่วโลกในปี   2561  เป็นยาที่ขึ้นทะเบียนเป็นชีวเภสัชภัณฑ์แล้วถึง 13 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นแนวโน้มที่จะเห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆนับจากนี้  ทั้งยังสอดรับกับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม การแพทย์ครบวงจร  (Medical Hub)  ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ตามกรอบการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ที่ส่วน หนึ่งคือการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและผลิตชีวเภสัชภัณฑ์อีกด้วย

                                              ——————————————————– 

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *