Thailand Bike and Walk Forum 7th

สสส. สนับสนุนให้คนเดินและปั่น เพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย ลดภาวะเนือยนิ่ง สอดคล้อง WHO ให้คนมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
          นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ผู้อำนวยการมูลนิธิสถาบันการเดินและการจักยายไทย กล่าวว่าตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า ประชาชนที่มีอายุ 18-59 ปี ควรมีกิจกรรมทางกาย (ระดับปานกลาง) อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ในขณะที่หากเป็นวัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรมีกิจกรรมยากงาย (ระดับปานกลาง 3 วันต่อสัปดาห์ กลุ่มเด็กและวัยรุ่น 6-17 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายสะสมอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน  การเดินและปั่นจักรยาน เป็นกิจกรรมทางกายที่ถูกกล่าวถึงในกลุ่มของการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เพื่อเดินทางนั้น ที่ควรส่งเสริมสนับสนุน เพราะนอกจากเป็นประโยชน์ด้านสุขภาพแล้ว ยังเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพราะการเดินทางระยะสั้น โดยทั่วไปแล้ว หากเป็นการเดินเท้า คนทั่วไปใช้เวลาประมาณ 15 นาที ได้ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และถ้าปั่นจักรยาน (จักรยานแม่บ้าน)  เวลา 15 นาที ระยะทางประมาณจากที่พักอาศัย หรือสถานที่ทำงานไปยังสถานีรถไฟฟ้า ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร คนวัยทำงาน ถ้าเลือกการเดินทางด้วยเดินเท้า หรือ ปั่นจักรยาน ไปต่อรถสาธารณะ ในหนึ่งสัปดาห์ก็มีกิจกรรมทางกายมากเพียงพอที่ WHO กำหนด

          ดังนั้นสถาบันการเดินและการจักรยานไทย โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จึงได้จัดประชุมส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 7 (7th Thailand Bike and Walk Forum) ปีนี้ ประเด็นหลักของการนำเสนอการประชุมคือ Think Globally , Bike – Walk Locally คือ ส่งเสริมเดิน ปั่น เพิ่มกิจกรรมทางกาย ระดับท้องถิ่น สร้างสุขภาพดีให้เมืองให้โลก

          ทั้งนี้โดยนำเสนองานวิจัยและงานปฏิบัติการจากระดับพื้นที่ ที่ส่งเสริมให้คนในเมือง ในชุมชน เลือกเดินทางด้วยการเดินหรือการใช้จักรยาน เช่น การศึกษาปัจจัยความสำเร็จเชิงระบบ เพื่อส่งเสริมเมือง ชุมชน ที่เป็นมิตรต่อการเดินทาง (ผศ.ดร.ภคพร วัฒนดำรงค์ ) การส่งเสริมการใช้จักรยานเพิ่มกิจกรรมทางกาย เชื่อมต่อรถไฟฟ้า (ดร.ประพัทธ์พงษ์  อุปลา) การปรับปรุงทางเดินเท้าในชุมชน กรณีศึกษา ซอยพุทธบูชา 44 เขตทุ่งครุ กทม. (รศ.ดร. วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์) หรือ นวัตกรรมอย่างง่ายส่งเสริมการเดินทางในชุมชนด้วยการสร้างชุมชนจักรยาน (นายอารดินทร์ รัตนภู)

          นอกจากนี้ ในการประชุมยังเปิดเวทีให้ร่วมถกแถลง รับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1)  ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) (2) ผู้บริหารจากเทศบาลนครพิษณุโลก และเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ (3) ผู้แทนนักวิชาการ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง   และ (4) ผู้แทนจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
          สำหรับปีนี้ จัดประชุมฯ ที่ อาคารเคเอกซ์ (Knowledge Exchange for Innovation Center) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร  ชั้น 7-8  สถานีบีทีเอส วงเวียนใหญ่ ทางออกประตู 4

          นอกจากนี้ ในวันที่ 22 กันยายน 2562 ซึ่งตรงกับวันคาร์ฟรีเดย์  วันปลอดรถยนต์ส่วนบุคคล  สถาบันฯ จัดให้มีกิจกรรมปั่นจักรยานที่อัมพวา จอดรถยนต์ส่วนบุคคลไว้ที่บ้าน และใช้บริการรถสาธารณะ ขสมก. เดินทางไปปั่นจักรยานในสวนริมคลอง ทำกิจกรรมร่วมกับชาวสวน ชมวิถีริมคลองกันด้วย

                                        ———————————–

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *