“BBL”จัดสัมมนา AEC Business Forum 2018
หนุนผู้ประกอบการไทยก้าวสูตลาดอาเซียน
ธนาคารกรุงเทพจัดสัมมนาประจำปี AEC Business Forun 2018 หัวข้อ “Rising City. Rising Business” ฉายภาพอาเซี่ยนยุค เศรษฐกิจดิจิทัล ชี้ช่องโอกาสใหม่ทางธุรกิจ รับเทรนด์เมืองใหม่ ขยายตัว- การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหม่ ย้ำบทบาท ธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคอาเชียน พร้อมตอบโจทย์ธึนกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องและยังยืน ของผู้ประกอบการไทยก้าวสู่ตลาดอาเซี่ยน
นายชาติศิริ โนภณพาณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวถึงการจัดงานสัมมนาประจำปี AEC Business Forun 2018 หัวข้อ “Rising City. Rising Business” ว่ามี3 วัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อเป็นเวทีการแสดงมุมมองของนาคารกรุงเทพ ในฐานะธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคอาเซี่ยน ต่อโอกาสทางธุรกิจให้กับนักธุรกิจผู้ประกอบการคนไทย สนับสนุนศักยภาพและผลักดันผู้ประกอบการไทยให้ก้าวสูตลาดการค้าแบะประสบความสำเร็จ เติบโตอย่างมั่นคง
สำหรับในปีนี้ ได้จัดขึ้นภายใต้หัว””Rising City. Rising Business”ซึ่งจะนำเสนอสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของเมืองเศรษบกิจที่เกิดขึ้นใหม่ในแต่ละประเทศ ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขยายตัวของเมือง และรูปแบบการค้าใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการก้าวสู่เศรษบกิจยุคดิจิทัล
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวเปิดงานสัมมนาประจำปีธนาคารกรุงเทพ AEC Business Forum 2018 : Rising city Rising Business ว่า แม้จะเกิดความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้า ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน แต่เชื่อว่าข้อพิพาทดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่ออาเซียน เนื่องจากอาเซียนไม่ใช่คู่กรณีโดยตรง และแม้ว่าอาเซียนจะผลิตสินค้าที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของทั้งสองประเทศ แต่ยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งด้วยมูลค่าจีดีพีของอาเซียนในปัจจุบันที่มีมูลค่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 4.6 ล้านล้านดอลลาร์ภายใน 10 ปีข้างหน้า มีประชากรทั้งสิ้น 630 ล้านคน ทำให้อาเซียนเป็นตลาดใหญ่อันดับสามของโลก
นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับจีนและอินเดียซึ่งเป็นตลาดใหญ่อันดับ 1 ของโลกและเป็นอันดับสองของโลกอีกด้วย และแม้ว่าจะมีเงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก จากความกังวลเรื่องสงครามการค้าและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ แต่ยังเชื่อว่าพื้นฐานเศรษฐกิจอาเซียนที่แข็งแกร่ง จะยังคงดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในภาคเศรษฐกิจจริงของภูมิภาคนี้
โดยที่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศเป้าหมายของการลงทุน เนื่องจากมีศักยภาพจากโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี และโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นใน3-5 ปีข้างหน้า บวกกับภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้การขอสินเชื่อของธนาคารยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะลูกค้ารายใหญ่ที่มีการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ซึ่งคาดว่าสินเชื่อปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ร้อยละ 5
“ส่วนการที่เงินทุนเคลื่อนย้ายออกจากไทยในช่วงนี้ยังไม่น่ากังวล เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่ง และ เชื่อว่าทางการ และ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะดูแล และ รับมือกับความผันผวนที่เกิดขึ้นได้ โดยในส่วนภาคของธนาคารก็มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งเช่นเดียวกัน” นายชาติศิริ กล่าว
ด้านดาโต๊ะ ปาดูกา ลิม จ๊อก ฮอย เลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า อาเซียนต้อง เร่งปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสู่ยุค 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้ง Bigdata และ AI โดยคาดว่า มูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัล ใน 6 ชาติสมาชิกอาเซียนจะขยายตัวอย่างรวดเร็วจาก 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า
โดยชาติสมาชิกต้องมีเป้าหมายพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล คือ1.การสร้างโอกาสให้ประชาชนในอาเซียนได้เข้าถึงบรอดแบนด์ อินเตอร์เน็ต และดิจิทัลอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในอาเซียน 300 ล้านคนจาก 365 ล้านคน 2. ส่งเสริมให้เอสเอ็มอีใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างนวัตกรรมและเสริมสร้างการแข่งขัน 3. การกำหนดกรอบนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและเป็นไปตามมาตรฐานสากล และ 4 . สมาชิกอาเซียนต้องมีการทำงานร่วมกันให้มากขึ้น สร้างแพลตฟอร์ม เพื่อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างประสิทธิภาพร่วมกัน.
——————————GEN—————————-