“sacit” ชวนมาสโลว์ไลฟ์ ในงาน “sacit Craft Fair” ประจำปี 2566

ปรับสปีดชีวิตให้ช้าลง แล้วมาซึมซับงานคราฟต์บันดาลใจ ดีไซน์ร่วมสมัยกว่า 45 ร้านค้า พบกัน พฤษภาคม-สิงหาคม จัด 4 ครั้ง ณ เซ็นทรัล พระราม 9, เดอะมอลล์ ท่าพระ และเดอะมอลล์ โคราช มาสโลว์แฟชั่น แล้ว Go Green ไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

นายภาวี โพธิ์ยี่ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า สศท. หรือ sacit ในฐานะหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายให้นำ BCG Model มาอัพสกิลผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค และเทรนด์โลกที่เปลี่ยนไป โดยขณะนี้โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายประการ อาทิ  Climate Change, Global Warming, Carbon Neutrality   

สำหรับ sacit มีบทบาทในการสืบสาน สร้างสรรค์และส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมไทย ทั้งงานอนุรักษ์แบบดั้งเดิม และร่วมสมัย ให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศ และต่างประเทศตลอดมา รวมทั้ง การสนับสนุนสินค้าแฟชั่นที่ไม่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแฟชั่นแบบยั่งยืน หรือ Sustainable Fashion โดยสนับสนุนสินค้าประเภท Slow Fashion ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นสินค้าที่ถูกสร้างและผลิตขึ้น เพื่อนำไปสู่โลกที่สมดุลมากกว่าเดิม ในทางกลับกัน โลกที่หมุนเร็วขึ้น แต่ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจสินค้าแนว Eco Trend และสนับสนุนสินค้าแบบ Slow Fashion มากขึ้น เพราะมีคุณภาพดี ผลิตอย่างใส่ใจ ไม่ต้องวิ่งตามกระแส มีความคุ้มค่า อายุการใช้งานยาวนาน ช่วยลดปริมาณขยะ

 sacit จึงได้กำหนดจัดงาน “sacit Craft Fair” ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด Sustainspiration” ซึ่งเป็นการรวมกันระหว่าง Sustainability + Inspiration เมื่อแรงบันดาลใจ ถูกเจียระไนผ่านกาลเวลา ผ่านภูมิปัญญาทักษะแบบดั้งเดิม จนกระทั่งโลกได้เดินทางสู่เทรนด์แบบสมัยนิยม ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และขับเคลื่อนเป็นผลงาน “คราฟต์บันดาลใจสู่ความยั่งยืน” งานคราฟต์เหล่านี้ จึงไม่เพียงแต่ยกระดับ สร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ยังสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน และโลกได้ถึงขีดสุด

“sacit Craft Fair คือพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ ทายาทช่างศิลป์ฯ และสมาชิกผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมไทยอันทรงคุณค่า ได้นำผลงานคราฟต์ร่วมสมัย มาจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก เป็นคอมมูนิตี้ สำหรับแลกเปลี่ยนมุมมอง ต่อยอดทางความคิดในการประกอบอาชีพ กลุ่มผู้ซื้อที่ชื่นชอบงานคราฟต์ มีพื้นที่จับจ่ายใช้สอย โดยไม่ต้องเดินทางไกลไปถึงแหล่งผลิตต้นทาง เป็นการอุดหนุนชุมชน เชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต ซึ่งถือเป็นการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทยอย่างยั่งยืน”

การจัดงาน sacit Craft Fair ประจำปี 2566  ในครั้งนี้ จึงเป็นการชวนสายคราฟต์มาสโลว์ไลฟ์ สโลว์ใจ ปรับสปีดชีวิตให้ช้าลง เพื่อซึมซับงานคราฟต์ตามวิถี Eco Trend พร้อมสอดแทรกสาระด้าน BCG ภายในงานอีกด้วย โดยงานจัดทั้งหมด 4 ครั้ง ๆ ละ 7 วัน ได้แก่ ครั้งที่ 1 วันที่ 10-16 พฤษภาคม 2566 เซ็นทรัล พระราม 9 , ครั้งที่ 2 วันที่ 22-28  มิถุนายน 2566 เดอะมอลล์ ท่าพระ, ครั้งที่ 3 วันที่ 4-10 กรกฎาคม 2566 เซ็นทรัล พระราม 9 และครั้งที่ 4 วันที่ 17-23 สิงหาคม 2566 เดอะมอลล์ โคราช โดยมีร้านค้าผลิตภัณฑ์งานคราฟต์ร่วมสมัย กว่า 180 ร้านค้า อาทิ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน ที่มี ดีไซน์ มีนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถนำไปใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้ ยังมีโปรโมชั่นและกิจกรรมส่งเสริมการขาย อาทิ เมื่อซื้อสินค้าภายในงานตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป รับ สิทธิในการจับรางวัลพิเศษ เช่น แก้ว Limited Edition ของที่ระลึกจาก sacit shop หรือคูปองส่วนลด , กิจกรรม “sacit แจกที่พักฟรี” เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์จาก sacit shop มูลค่า 5,000 บาทขึ้นไป ร่วมลุ้นเป็นผู้โชคดีท้ายงาน และ กิจกรรม “ถุงโชคดี” เพียงนำถุงผ้ามาช้อปปิ้งภายในงาน แสดงใบเสร็จจากร้านค้า รับของที่ระลึกทันที

ร่วมด้วยกิจกรรมความบันเทิงครบรส  สร้างบรรยากาศด้วยวงดนตรีสดทุกวัน ๆ ละ 3 รอบ โชว์พิเศษจากศิลปิน ดารา พร้อมพูดคุยเกี่ยวกับ Sustainspiration “คราฟต์บันดาลใจสู่ความยั่งยืน” เชื่อมโยงกับเรื่อง BCG และ Soft Power  รวมถึง สาระดี ๆ จากช่วง Craft Talk การพูดคุยเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรม  ในส่วนของศิลปินดาราที่มาร่วมงาน อาทิ Miss Grand Thailand ประจำปี 2023, รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น, รถเมล์ คะนึงนิจ, วง PiXXiE, พีท พล, พริม พริมา, ว่าน วันวาน, ปิงปอง ธงชัย, จีน่า เดอะเฟซ, แบมแบม นีวิรินทน์, บอย Your Mood, นัท นิสามณี, ลูกหว้า พิจิกา, ทิกเกอร์ เทริโอ, JIXGO, ฝ้าย สุภาพร, ซีน ภัสธรากรณ์, ไข่มุก รุ่งรัตน์, เต๋า ภูศิลป์, ปอ อรรณพ, ลีโอ อธิป โสดา แชมป์ไมค์หมดหนี้เสี่ยงโชค 139 สมัย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 1289 หรือ www.facebook.com/sacitofficial

                                                   ——————————————————-

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *