วช. ร่วมกับ สกอ. สกว. บูรณาการกลไกนำวิจัยและนวัตกรรม เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาพื้นที่ตามทิศทางยุทธศาสตร์ชาติ
วันที่ 28 กันยายน 2561 : พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการเปิดงาน “สานพลังวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาพื้นที่” พร้อมบรรยายพิเศษเรื่อง “วิจัยและนวัตกรรมเชิงพื้นที่ พลัง ขับเคลื่อนประเทศไทย” โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ร่วมเดินหน้าประเทศอย่างองค์รวม มั่นคงและยั่งยืนด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ปัญหาของพื้นที่ เน้นยกระดับอาชีพ รายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
ทั้งนี้โดยในงานดังกล่าวจัดให้มีการเสวนา เรื่อง “สร้างไทยไปด้วยกัน ด้วยพลังขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาพื้นที่” ซึ่งมีศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ดร.อรสา ภาววิมล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเสวนา
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ให้ความสำคัญกับนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยการพัฒนาฐานรากของประเทศ โดยใช้ความรู้ด้านวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เน้นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อเป็นกลไก
ส่วนการพัฒนาในระดับพื้นที่ และชุมชน เน้นการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้เศรษฐกิจในประเทศ ยกระดับอาชีพ รายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชน และให้ความสำคัญกับการพัฒนาในมิติเชิงพื้นที่ เป็นหลัก เพื่อให้การดำเนินการสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และสามารถนำศักยภาพของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมาสนับสนุนการดำเนินการได้อย่างเต็มที่เพื่อร่วมเดินหน้าพัฒนาประเทศอย่างองค์รวม มั่นคงและยั่งยืนด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาในพื้นที่ของประเทศได้อย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามกิจกรรมภายในงานนอกจากจะมีการเสวนาจากเครือข่ายผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และหน่วยงานขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมแล้ว ยังได้มีการจัดแสดงนิทรรศการจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ขยายผลสู่การใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาในพื้นที่ชุมชนสังคม อาทิ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค การผลิตข้าวโพดเทียนและข้าวโพดข้าวเหนียวเพื่อความมั่นคงอาหารและเพิ่มรายได้ การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำสำหรับสวนส้มโอทับทิมสยาม เป็นต้น
——————————————–