กรมส่งเสริมการเกษตร เผยความก้าวหน้า 2 โครงการหลัก “ยกระดับแปลงใหญ่-ธุรกิจดินปุ๋ย” ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการดำเนินงาน 2 โครงการ ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ และเชื่อมโยงตลาด ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความหลากหลาย มาประยุกต์ใช้พัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแปลงใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ต่อยอด ด้านคุณภาพมาตรฐาน แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม และเชื่อมโยงการตลาด ลดต้นทุนการผลิต สร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงานล่าสุด จากเป้าหมาย 5,250 แปลง มีกลุ่มเปลงใหญ่ที่แสดงความประสงค์ไม่เข้าร่วมโครงการฯ เนื่องจากไม่มีความพร้อมในการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ประเภทนิติบุคคล ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 จำนวน 1,749 แปลง ดังนั้น จึงมีกลุ่มแปลงใหญ่แสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 3,501 แปลง แบ่งเป็นกรมส่งเสริมการเกษตร 1,101 แปลง กรมการข้าว 2,101 แปลง กรมปศุสัตว์ 117 แปลง กรมประมง 29 แปลง การยางแห่งประเทศไทย 136 แปลง และกรมหม่อนไหม 17 แปลง ทั้งนี้ มีกลุ่มแปลงใหญ่ที่ขอยกเลิกการเข้าร่วมโครงการฯ และไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับจังหวัด จำนวน 120 แปลง
โดยผลการดำเนินงานภาพรวม มีกลุ่มแปลงใหญ่ที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับจังหวัดแล้ว 3,126 แปลง คิดเป็นร้อยละ 89.29 ของจำนวนแปลงที่เข้าร่วมโครงการ ดำเนินการจัดทำ MOU กับหน่วยงานที่เป็นเจ้าของสินค้าแปลงใหญ่แล้ว 3,095 แปลง คิดเป็นร้อยละ 88.40 ของจำนวนแปลงที่เข้าร่วมโครงการ และโอนเงินให้กับกลุ่มแปลงใหญ่แล้ว 2,853 แปลง คิดเป็นร้อยละ 81.49 ของจำนวนแปลงที่เข้าร่วมโครงการ วงเงินงบประมาณรวมกว่า 7,905 ล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายแล้ว 328 แปลง คิดเป็นร้อยละ 9.37 วงเงินงบประมาณประมาณ 328 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบและบันทึกข้อมูลในระบบของหน่วยงานที่รับผิดชอบสินค้า อีกจำนวน 255 แปลง (ข้อมูล ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2564)
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของโครงการพัฒนาธุรกิจบริการด้านดินและปุ๋ย เพื่อชุมชน (One Stop Service) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการวิเคราะห์ดินและใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและเพื่อพัฒนา ต่อยอดศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ที่มีศักยภาพให้สามารถดำเนินธุรกิจในการจัดหาปุ๋ยที่มีคุณภาพใช้ในชุมชน สร้างความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองให้แก่เกษตรกรนั้น
ความก้าวหน้าล่าสุด กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดอบรมเสร็จสิ้นแล้วใน 394 ศูนย์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยอบรมใน 2 หลักสูตร/ศูนย์ คือการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเทคนิคและการบริหารธุรกิจ และการจัดเวทีเชื่อมโยงเครือข่าย ศดปช. ศพก. และกลุ่มแปลงใหญ่ รวมทั้งดำเนินการจัดซื้อจัดหาวัสดุการเกษตรและครุภัณฑ์ซึ่งดำเนินการส่งมอบแล้วกว่าร้อยละ 97.35 โดยแต่ละ ศดปช. จะได้รับวัสดุการเกษตรและครุภัณฑ์ ประกอบด้วย ชุดตรวจวิเคราะห์ดิน แม่ปุ๋ย และเครื่องผสมปุ๋ย ด้านการจดทะเบียนขายปุ๋ยดำเนินการแล้วใน 387 ศูนย์ สำหรับการให้บริการในเชิงธุรกิจ ด้านบริการตรวจวิเคราะห์ดิน มีผู้ใช้บริการแล้ว 96,046 ราย ด้านบริการจำหน่ายปุ๋ย จำหน่ายแล้ว 53,845.94 กระสอบ และด้านบริการเครื่องผสมปุ๋ย ให้บริการแล้ว 2,008.4525 ตัน
1) ระบบบันทึกข้อมูล ศดปช. กิจกรรมเพาะปลูก ต้นทุนการผลิต ผลผลิต ของสมาชิก และเกษตรกรผู้ใช้บริการ โดยเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร (ทบก.) เพียงกรอกข้อมูลเลขที่บัตรประชาชน ก็สามารถดึงข้อมูลของเกษตรกรมาจาก ทบก.
2) ระบบให้คำแนะนำการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อใช้ในการให้คำแนะนำการจัดการดินและใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
3) ระบบวิเคราะห์และทำนายต้นทุนการใช้ปุ๋ยและผลผลิต รายแปลง ราย ศดปช. รายชนิดพืช และส่งออกข้อมูลได้
4) ระบบสต็อกปุ๋ย แสดงปริมาณและการจัดการปุ๋ยในสต็อกของ ศดปช.
5) ระบบสั่งจองการซื้อปุ๋ย แสดงปริมาณปุ๋ยที่สมาชิกหรือผู้ใช้บริการต้องการให้ ศดปช. รับทราบ และดำเนินการจัดหามาให้บริการตามจำนวนและเวลาที่ต้องการ สามารถระบุสถานที่รับสินค้า ยืนยันการรับ-ส่งสินค้า และส่งออกใบสั่งจอง รวมทั้งใบเสร็จได้
6) ระบบรายงานผู้บริหารและระดับปฏิบัติการ เช่น ผลการให้บริการของศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน รายงานจำนวนสมาชิกและเกษตรกรที่ใช้บริการ ศดปช. ปริมาณปุ๋ยที่จำหน่าย พื้นที่การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ต้นทุนและผลผลิตเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและตามวิธีของเกษตรกร เป็นต้น และส่งออกรายงานได้
และ 7) ข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมการเกษตร รวมทั้งคำถามที่พบบ่อย และข้อมูลร้านค้าปุ๋ย Q shop ที่กรมวิชาการเกษตรให้การรับรอง ทั้งนี้ แพลตฟอร์มและแอพพลิเคชั่น “รู้ดิน รู้ปุ๋ย” อยู่ในขั้นทดสอบระบบ พร้อมจะเปิดให้ใช้งานในเร็ว ๆ นี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2564)
————————————————————–