กระทรวงเกษตรฯ.สร้างเมืองสีเขียวมิติใหม่เดินหน้าโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนทั่วประเทศภายใต้โมเดลวนเกษตรและฟาร์มเมือง(Urban Farming)
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกสร (รมว.กษ ) ในฐานะประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมหารือเรื่อง “โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง(Sustainable Urban Agriculture Development )เพื่อขับเคลื่อนนโยบายเมืองสีเขียว(Green City)ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.กษ.โดยมุ่งหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองเพื่อลดมลพิษทางอากาศและPm2.5ด้วยแนวทางวนเกษตรพร้อมกับการพัฒนาการเกษตรในเมือง(Urban Farming)ภายใต้คณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืน คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0และคณะกรรมการบริหารAIC(Agritech and Innovation Center)
ทั้งนี้โดยเชิญหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมประชุม เช่น กรุงเทพมหานคร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเคหะแห่งชาติศูนย์AICกรุงเทพฯ(มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ผู้แทนที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กลุ่มyoung smart farmerb มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน กฏบัตรแห่งชาติ(National Charter) สมาคมผังเมืองแห่งประเทศไทย สมาคมห้องสรรพสินค้า สมาคมบ้านจัดสรร คณะทำงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชิงเกษตร คณะอนุกรรมการอีคอมเมิร์ซ ฯลฯโดยจะดำเนินการภายในพื้นที่เมืองทั่วประเทศ ทั้งนี้จะมีคณะกรรมการบริหารโครงการประสานกับทุกภาคีภาคส่วนและศูนย์AICทุกจังหวัดเพื่อดำเนินโครงการให้บรรลุผลต่อไป
“การพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนในพื้นที่เมืองมี2รูปแบบที่จะดำเนินการพร้อมกันคือรูปแบบเกษตรในเมือง (Urban Farming )เพื่อสร้างรายได้อาชีพและอาหารปลอดภัยให้กับคนในเมืองและรูปแบบสวนวนเกษตร (Forest Garden)เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศน์เกษตรและเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองรวมทั้งตลาดเกษตรกร(farmer market)แบบออฟไลน์และออนไลน์ซึ่งจะเป็นเครื่องยนต์ตัวใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจในเมืองเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรในชนบทเพื่อสร้างความสมดุลใหม่ให้กับประเทศระหว่างการพัฒนาเมือง (Urbanisation)กับการพัฒนาชนบท (Ruralization)ในยุคโควิด
เรามีพื้นที่ของรัฐ เอกชนและชุมชนอีกมากที่สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นปอดเมืองและทำฟาร์มเกษตรเพื่อให้คนเมืองปลูกพืชผลิตอาหารปลอดภัยในรูปแบบต่างๆเช่นสวนเกษตร สวนหย่อม green roof สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ plant factory ฯลฯตัวอย่างเช่นกรุงเทพมหานครต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ได้มาตรฐานWHOคือ9ตารางเมตรต่อคนและมีชุมชนหลายร้อยแห่งที่สามารถทำฟาร์มเกษตรเลี้ยงตัวเองได้”นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด
——————————————–