“InnoBioplast 2019”

วช. จัดประชุมนานาชาติโชว์ศักยภาพคนไทย สร้างโอกาสก้าวสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพของโลก

          สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBIA) มหาวิทยาลัยศิลปากร (SU) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT) จัดการประชุมนานาชาติและนิทรรศการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้านพลาสติกชีวภาพ “InnoBioplast 2019” ระหว่างวันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรม The Am bassador กรุงเทพฯ เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความก้าวหน้าทางวิชาการวิจัยและเทคโนโลยีระดับชาติและนานาชาติ ร่วมถึงการสร้างเครือข่ายนักวิชาการ และธุรกิจอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพให้เข้มแข็งในระดับชาติและนานาชาติ ภายใต้กรอบแนวคิด “Circular economy: Rethinking and Challenge in Biochemicals Bioplastics and Biopharma”

          สำหรับการจัดงานครั้งนี้ มีการนำเสนอความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรด้านพลาสติกชีวภาพ รวมถึงปัญหาและข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายและเศรษฐศาสตร์ให้สามารถนำไปใช้งานได้ในเชิงพาณิชย์ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ การประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน นโยบายของภาครัฐ และทิศทางการพัฒนา อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพทั้งของประเทศไทยและตลาดสากล เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในรูปแบบใหม่ ให้สามารถก้าวข้ามการเป็นประเทศผู้มีรายได้ปานกลาง ด้วยการกระจายการสร้างรายได้ที่สูงขึ้นสู่ภาคการผลิตในทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่การผลิตได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

          ทั้งนี้การประชุมนานาชาติและนิทรรศการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้านพลาสติกชีวภาพ “InnoBioplast 2019” นี้ เป็นความต่อเนื่องจากความสำเร็จในการจัดงาน InnoBioplast 2006 (ปี 2556) ซึ่งเป็นการจัดสัมมนาทางวิชาการที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพตั้งแต่ระดับต้นน้ำจนถึงปลายน้ำเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งต่อมาได้มีการจัดงาน “EcoInnovAsia 2008” (ปี 2551)เป็นการสัมมนาด้านชีวมวลและพลาสติกชีวภาพ งาน “InnoBioplast 2010” (ปี 2553) “InnoBioplast 2013” (ปี 2556) และ “InnoBioplast 2016” (ปี 2559) โดยการจัดงานดังกล่าวได้รับความสนใจ ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษาและภาคประชาชนเป็นอย่างยิ่ง

          นอกจากนี้การจัดงาน InnoBioplast 2019 ยังครอบคลุมภาพรวมของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในระดับโลก ทั้งความก้าวหน้า ทิศทางทางด้านเทคโนโลยีและการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ตลอดจนถึงการวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดและการลงทุน รวมถึงการนำเสนอจากภาคอุตสาหกรรมและภาควิจัยมากกว่า 20 คน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นต้น

                อย่างไรก็ตามนับเป็นโอกาสดีที่จะสร้างความร่วมมือและเครือข่ายขึ้น เพื่อพัฒนาโครงการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ในระดับนโยบายและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

ครั้งนี้จะทำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติก และใช้พลาสติกชีวภาพเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การกำจัดขยะให้เหลือศูนย์ (Zero Waste)โดยการจัดงานในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 เวลา 08.00 น.

                                              ————————

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *