BKP จับมือกรมวิชาการเกษตร ติวเข้มเกษตรกรปลูกข้าวโพดปลอดเผาตามระบบ GAP

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ภายใต้กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ผู้จัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรให้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จับมือกรมวิชาการเกษตร จัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนากลาง  จังหวัดนครราชสีมา  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับสู่มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP (Good Agriculture Practice) พัฒนาสินค้าคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร่วมจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 อย่างยั่งยืน

ความร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตร เพื่อสนับสนุนความรู้แก่ผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลุ่มเกษตรกรในวิสาหกิจชุมชนนากลาง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีม สามารถปรับมาตรฐานการผลิตอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน GAP  และเตรียมความพร้อมผู้ปลูกเข้าสู่กระบวนการตรวจประเมินเพื่อรับรองเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรในระดับไร่และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัย มีคุณภาพโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี ยกระดับแหล่งเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปราศจากการรุกป่า และปลอดการเผาหลังเก็บเกี่ยว

นายวรพจน์ สุรัตวิศิษฎ์ รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่าระบบ GAP ช่วยให้เกษตรกรมีขีดความสามารถในการผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพสูง ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ได้มาจากแหล่งบุกรุกพื้นที่ป่า ไม่ใช้วิธีการเผาหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรไทย มีส่วนร่วมจัดการปัญหาฝุ่นที่เกิดจากการเผาเศษซากวัสดุทางการเกษตรและหมอกควันอย่างยั่งยืน

สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นของบริษัทฯและเครือเจริญโภคภัณฑ์ ด้านความยั่งยืนและแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมถึงช่วยบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ด้วยการสร้างห่วงโซ่การผลิตข้าวโพดที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับนโยบายด้านการจัดหาวัตถุติบทางการเกษตรของซีพีเอฟตามแนวทาง “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ”

นายวรพจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ” เป็นแนวทางหลักที่ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จัดหาผลผลิตทางการเกษตรที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งเพาะปลูกจนถึงโรงงานอาหารสัตว์ว่าปราศจากการบุกรุกพื้นที่ป่าและปราศจากการเผาหลังเก็บเกี่ยว   ในฐานะผู้นำในธุรกิจจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ บริษัทฯเป็นบริษัทไทยรายแรกที่นำระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดมาใช้ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อสร้างความโปร่งใสให้กับห่วงโซ่การผลิตอาหารสัตว์  ทั้งนี้ การส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกตามแนวปฏิบัติ GAP ถือเป็นส่วนหนึ่งช่วยพัฒนาขีดความสามารถเกษตรกรสู่มาตรฐานสากล เพื่อร่วมมือกับทุกภาคส่วนแก้ปัญหาฝุ่นอย่างยั่งยืน และพร้อมนำระบบตรวจสอบย้อนกลับของบริษัทเป็นต้นแบบให้กับภาคอุตสาหกกรรมโดยรวม

          ส่วนการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรสู่มาตรฐาน GAP ต่อยอดจากโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” ที่บริษัทฯ ดำเนินการตั้งแต่ปี 2558  ช่วยเกษตรกรมีความรู้ในการผลิตข้าวโพคมีคุณภาพตรงตามความต้องการตลาด ลดต้นทุน มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่เกษตรกรเป็นหนึ่งในแนวทางที่สนับสนุนนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ (Sustainable Sourcing Policy and Supplier Guiding Principle) ของซีพีเอฟ ขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการ จัดซื้อวัตถุดิบหลักทางการเกษตรที่ตรวจสอบย้อนกลับได้มาจากแหล่งปลูกที่ปราศจากการบุกรุกพื้นที่ป่า

          ปัจจุบัน มีเกษตรกรในโครงเกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน  กว่า 11,000 ราย ครอบคลุมพื้นที่ปลูกกว่า 3 แสนไร่ทั่วประเทศ  ส่งผลให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 18% สูงกว่าเกษตรกรที่อยู่นอกโครงการฯ และบริษัทฯ ยังได้นำเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมมาช่วยตรวจติดตามการเผาหลังเก็บเกี่ยวของเกษตรกรที่ลงทะเบียน พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้คำแนะนำในการจัดการเศษวัสดุหลังเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

                                                          ———————————————–

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *