“ซีพีเอฟ”ชูฟาร์ม-โรงงาน-แรงงาน มาตรฐานระดับโลก

“ซีพีเอฟ”ชูฟาร์ม-โรงงาน-แรงงาน มาตรฐานระดับโลก ผลิตอาหารปลอดภัย ป้องกันโควิด-19    

 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ตั้ง “การ์ดแน่น”ย้ำมาตรการป้องโรคในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ด้วยระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Bio-security) ตามมาตรฐานโลก ทั้งสัตว์บก-สัตว์น้ำ ทั้งกิจการในไทยและในต่างประเทศ ช่วยผลิตเนื้อสัตว์ ควบคู่ไปกับมาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุดในกระบวนการผลิตและการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ช่วยให้คนไทยมีอาหารเพียงพอให้ทุกสถานการณ์และปลอดภัยตั้งแต่ฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร (From Farm to Table)  

            นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในช่วงวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด 19)  ทำให้ความมั่นใจในการบริโภคอาหารทะเลและเนื้อสัตว์ลดลง ผู้บริโภคให้ความสำคัญเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหารเป็นปัจจัยในการเลือกซื้อ ไม่ใช่เฉพาะอาหารทะเล ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการระบาดของโรคฯ รอบใหม่ที่ตลาดกุ้ง-ปลา มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร เท่านั้น แต่ยังขยายความระมัดระวังไปสู่เนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น หมู ไก่ เป็ด ด้วย ซึ่งการชะลอการบริโภคเนื้อสัตว์และอาหารทะเลจะส่งผลต่อไปยังเกษตรกรไทยโดยตรง  

สำหรับซีพีเอฟ ให้ความสำคัญสูงสุดกับการผลิตอาหารปลอดภัยและเพียงพอต่อการบริโภคของทุกคน ด้วยการนำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในการเลี้ยงสัตว์ (Farm Biosecurity) ซึ่งเป็นระบบป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการนำเชื้อโรคเข้าสู่หรือกระจายโรคออกจากฟาร์มหรือโรงเรือน สถานที่เลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์ รวมไปถึงรถขนส่ง ภาชนะอุปกรณ์การจัดการขยะ ซากสัตว์และน้ำทิ้ง และเป็นวิธีการควบคุมโรคที่ได้ผลดีที่สุด เป็นแนวปฏิบัติพื้นฐานในการทำฟาร์มจนถึงกระบวนการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นหลักประกันอาหารปลอดภัยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต  

Raw chicken legs with spices and vegetables on a wooden cutting board. Black background. Top view.

นายประสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพถูกนำไปใช้ในฟาร์มระบบปิด สุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่และกุ้ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตตามเป้าหมายความปลอดภัยในห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์อาหาร ตลอดจนผลิตได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก สร้างความมั่นคงทางอาหาร  และพร้อมถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรและคู่ค้าในห่วงโซ่การผลิต เพิ่มความปลอดภัยของวัตถุดิบในการผลิตอาหารอย่างรอบด้าน   

Raw chicken breasts on wooden cutting board.

                นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังมีการป้องกันไข้หวัดนกในธุรกิจไก่เนื้อ โดยประยุกต์ระบบ Compartment ขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organisation for Animal Health : OIE) ที่ให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังและควบคุมโรคฯ ในฟาร์มและพื้นที่กันชนในรัศมี 1 กม. และระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพสูงสุด และสามารถป้องกันโรคอื่นๆ ได้  ขณะที่ธุรกิจสัตว์น้ำ บริษัทฯพัฒนาระบบ CPF Combine Model ภายใต้แนวทาง “3 สะอาด” ซึ่งประกอบด้วย พื้นบ่อสะอาด น้ำสะอาด และ ลูกกุ้งสะอาด ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยให้กุ้งอยู่สบาย กินอาหารได้ดี มีอัตราการเติบโตที่ดี รวมถึงการใช้จุลินทรีย์ในการเลี้ยง (Probiotic) ลดความเสี่ยงการเกิดโรคของกุ้ง โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในระหว่างการเลี้ยง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

            “เรามั่นใจว่าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์อาหารของ ซีพีเอฟ มีความปลอดภัยสูงและมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ระบบบริหารจัดการฟาร์มที่ดีจะช่วยให้บริษัทฯ มีวัตถุดิบสนับสนุนการผลิตอาหารได้อย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้กับคนไทยได้มีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆ และควรปรุงให้สุกเพื่อสุขอนามัยที่ดี” นายประสิทธ์ กล่าว   

                นายประสิทธิ กล่าวว่าอีกว่าซีพีเอฟ ยังยกระดับมาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุด ตามแนวทางปฏิบัติของภาครัฐและของเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยพนักงานทุกคนในฟาร์มและโรงงานต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น การสวมหน้ากากอนามัย วัดอุณหภูมิก่อนเข้าปฏิบัติงาน ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือทุกครั้งก่อนเข้าพื้นที่ รถขนส่งสินค้าทุกคันต้องผ่านการล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาที่บริเวณล้อรถ และจัดจุดเทียบส่งสินค้าที่บริเวณลานรับและกระจายสินค้า ขณะที่ในกระบวนการผลิตมีการทำความสะอาด วัตถุดิบ กระบวนการผลิต ห้องบรรจุ และอุปกรณ์เครื่องมือทั้งหมดอย่างละเอียด เพื่อป้องกันแรงงานทุกคนและทุกขึ้นตอนการผลิตให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19  

                นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้าน (Work from Home) โดยขึ้นกับความเหมาะสมของงาน และมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดด้านสุขอนามัยตลอดเวลา ตั้งแต่ที่บ้าน การเดินทางไป-กลับ การปฏิบัติตัวในระหว่างทำงาน การรับประทานอาหาร การรักษาระยะห่างทางสังคม (social distancing) ระยะห่างทางบุคคล (Physical Distancing) และมีการสื่อสารให้พนักงานรับทราบข้อมูลข่าวสารสถานการณ์อย่างทั่วถึง และมีกรอกข้อมูลการเดินทางในแอพพลิเคชั่น CPF Connect ตรวจสอบและติดตามข้อมูลการเดินทาง สำหรับการประเมินความเสี่ยงได้ทันท่วงที ซึ่งบริษัทฯ ยังสนับสนุนแนวทางปฏิบัติให้กับเกษตรกรและคู่ค้าดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้ห่วงโซ่การผลิตอาหารของบริษัทฯ ตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างแม่นยำและปลอดภัยอย่างยั่งยืน

            ——————————————————-

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *